วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

ปิดกองลูกเสือ


ยีนเหวอไปวันๆ

วันสุดท้ายเลอะทุกคน

ผ่านไป3วันสมุดเลอะหมดเลยยยยยยย

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ
เเสดงละคร ฮามากกกกกกก
ในภาพอาจจะมี 3 คน, ผู้คนกำลังยืน, กลางคืน และ สถานที่กลางแจ้ง
เเข่งกันผูกเงื่อน

ในภาพอาจจะมี 5 คน, ผู้คนกำลังนั่ง, เด็ก และ สถานที่กลางแจ้ง
เข้าฐานผจญภัย มันมากกกกกก

ในภาพอาจจะมี 1 คน, ต้นไม้, สถานที่กลางแจ้ง และ ธรรมชาติ
โดนทำโทษ  เหนื่อยมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, ต้นไม้, พื้นหญ้า, สถานที่กลางแจ้ง และ ธรรมชาติ

นั่งรอนานนนน.......... มาก 



ในภาพอาจจะมี 8 คน, ผู้คนกำลังนั่ง, เด็ก และ สถานที่กลางแจ้ง
ไปเข้าค่ายทีหนองบัววันเเรก

#สนุกมาก
ในภาพอาจจะมี 2 คน, ผู้คนกำลังยืน และ สถานที่กลางแจ้ง

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2560

สลัดถั่วเลนทิล-ซิกพี อิ่มเบา ๆ ได้โปรตีน พ่วงสูตรน้ำสลัดไม่อ้วน

  ชวนคนลดความอ้วนมาบริหารเหงือกและฟันกันด้วยเมนูสลัดถั่วเคี้ยวหนึบ พร้อมผักสลัดสด ๆ กับน้ำสลัดไม่อ้วน อิ่มอร่อยไม่หนักท้อง 

     สาว ๆ ที่กำลังมองหาเมนูสลัดสำหรับมื้อเย็น ถ้าเบื่อผักสลัดล้วน ๆ ก็เพิ่มเติมโปรตีนจากถั่วลงไปดีไหม กระปุกดอทคอมขอนำเสนอวิธีทำสลัดถั่ว (Lentil and Chickpea Salad) สูตรจาก นิตยสาร @Kitchen จับถั่วผสมผสานกับผักสลัด ราดน้ำสลัดรสเปรี้ยวหวาน กินอิ่มนอนหลับสบาย

Lentil and Chickpea Salad จาก นิตยสาร @Kitchen

     Lentil and Chickpea Salad สลัดที่รวมความหนึบของถั่ว ความสดกรอบของผักสลัด รสเปรี้ยวอมหวานของน้ำสลัดตัดด้วยรสเค็มของชีสในจานเดียว

ส่วนผสม สลัดถั่ว (สำหรับ 2-3 ที่) 
     • ถั่วเลนทิลสุก (Lentil) 1+1/2 ถ้วย
     • ถั่วชิกพีสุก 1 ถ้วย
     • แรดิช 2 หัว
     • เฟต้าชีส 1/3 ถ้วย
     • ผักสลัด 2 ถ้วย
     • น้ำเลมอน 1/4 ถ้วย
     • ดิจองมัสตาร์ด 1+1/2 ช้อนชา
     • น้ำผึ้ง 3 ช้อนชา    
     • กระเทียมสับ 1 กลีบ
     • น้ำมันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะ
     • เกลือ 
     • พริกไทย

วิธีทำสลัดถั่ว
     1. ทำน้ำสลัด โดยผสมน้ำเลมอน ดิจองมัสตาร์ด น้ำผึ้ง กระเทียมสับ และน้ำมันมะกอก คนให้เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ปรุงรสด้วยเกลือและพริกไทย
     2. ผสมเลนทิล ชิกพี และแรดิชสไลซ์เป็นชิ้นบาง ๆ เข้าด้วยกัน เทน้ำสลัดลงไป คนให้เข้ากัน สามารถปรุงรสเพิ่มด้วยเกลือและพริกไทย
     3. จัดผักสลัดใส่จาน เทส่วนผสมเลนทิลลงไป แล้วโรยหน้าด้วยเฟต้าชีส

เคล็ดลับ :

     ถ้าใช้เลนทิลและชิกพีดิบ ให้นำถั่วทั้ง 2 ชนิดไปแช่น้ำอย่างน้อย 6 ชั่วโมงหรือข้ามคืน แต่ถ้าเวลามีจำกัดสามารถแช่ในน้ำร้อนประมาณ 1 ชั่วโมงแทนได้


     ใครที่อยากได้เมนูสลัดสำหรับมื้อเย็น มาลองทำสลัดถั่วกันดีไหม พ่วงสูตรน้ำสลัดทำเอง ถ้ากินตอนแช่เย็นรับประกันความฟิน

น้ำพริกปลาแซลมอน เมนูมื้อเย็นกินไม่อ้วนประโยชน์แน่น

 มื้อเย็น กินอะไรดี ? ลองทำน้ำพริกปลาแซลมอนสักถ้วยไหมคะ แคลอรีเบา ๆ เนื้อปลาแซลมอนเน้น ๆ จัดผักต้มผักลวกให้เยอะ ๆ กินเถอะ ไม่อ้วนแน่นอน

     ตอนเย็นอยากเจริญอาหารแต่ก็ไม่อยากอ้วน กระปุกดอทคอมเลยอยากชวนเพื่อน ๆ มาทำน้ำพริกปลาแซลมอน เมนูน้ำพริกแคลอรีต่ำหอมอร่อยจากเครื่องที่คั่วเอง สูตรจาก ครัวตุ๊กตา สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ทำง่าย ๆ วัตถุดิบไม่กี่อย่าง เตรียมผักต้มผักลวกไว้ให้เยอะ ๆ รับรองอิ่มท้องแม้ไม่ต้องพึ่งข้าว
น้ำพริกปลาแซลมอน by ครัวตุ๊กตา

     สวัสดีค่ะ ชวนมาทำน้ำพริกปลาแซลมอนอร่อย ๆ ดีต่อสุขภาพ และง่ายต่อการทำ ทานกับผักสด ๆ หรือกินกับข้าวเหนียวหรือข้าวสวยก็อร่อยค่ะ

ปีใหม่ หรือ วันขึ้นปีใหม่ 2560 หรือ ปีใหม่ภาษาอังกฤษ Happy New Year 2017 ใกล้มาถึงแล้ว วันขึ้นปีใหม่ หลาย ๆ คนคงชอบที่จะได้หยุดหลาย ๆ วัน ว่าแต่ที่หยุดและฉลองปีใหม่กันอยู่ทุกปี แล้วรู้หรือไม่ว่า ประวัติปีใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่ มีความเป็นมาอย่างไร วันนี้เรามีความหมายวันขึ้นปีใหม่ ประวัติวันขึ้นปีใหม่ มาฝาก  

ความหมายของวันขึ้นปีใหม่

          วันขึ้นปีใหม่ ตามความหมายในพจนานุกรมให้ความหมายคำว่า "ปี" หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน หรือ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ ดังนั้น "ปีใหม่" จึงหมายถึง การขึ้นรอบใหม่หลังจาก 12 เดือน หรือ 1 ปี

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่

          วันขึ้นปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยตามความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนีย เริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทินโดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก ๆ 4 ปี

          ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติก ได้นำการปฏิบัติของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไขอีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้น จนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ (ประมาณ 46 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อโยซิเยนิส มาปรับปรุงให้หนึ่งปีมี 365 วัน โดยทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน เมื่อเพิ่มให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ให้ทุกๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

          และในวันที่ 21 มีนาคม ตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตามทิศตะวันตก วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมงเท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

          แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้นพระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วัน จากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (ใช้เฉพาะในปี พ.ศ. 2125) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่าปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้ วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

ความเป็นมาวันปีใหม่ในประเทศไทย
          สำหรับวันปีใหม่ในประเทศไทยนั้น แต่เดิมเราถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย ซึ่งตรงกับเดือนมกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพระพุทธศาสนา ที่ถือช่วงเหมันต์หรือหน้าหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ คือถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ ดังนั้นในสมัยโบราณเราจึงถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย

          แต่การนับวันปีใหม่หรือวันสงกรานต์ตามวันทางจันทรคติ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติ ย่อมคลาดเคลื่อนกันไปในแต่ละปี ดังนั้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปี พ.ศ. 2432 (ร.ศ. 108) ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยนับแต่นั้นมา เพื่อวันปีใหม่จะได้ตรงกันทุกปีเมื่อนับทางสุริยคติ (แม้ว่าวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีต่อ ๆ มาจะไม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน แล้วก็ตาม) ดังนั้นจึงถือเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปีนับแต่นั้นมา  อย่างไรก็ดีประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่อยู่

          ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการจึงเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน มักจะไม่มีงานรื่นเริงอะไรมากนักและเห็นสมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก จนแพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อ ๆ มา โดยในปี พ.ศ. 2479 ก็ได้มีการจัดงานปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด มีชื่อทางราชการ "วันตรุษสงกรานต์"

วันหยุดปีใหม่

ในวันหยุดผมอยู่บ้านไม่ได้ทำอะไรมากมายต่างจากคนอื่นที่ออกไปฉลองกับครอบครัวเเต่ผมนั้นอยู่เเต่บ้านเพราะเเม่ของผมต้องทำงานไม่ว่างที่จะไปพาผมไปเที่ยวเเต่ผมก็ไม่ได้คิดอะไรมากเพราะเทศกาลส่วนมากผมก็ไม่ค่อยได้ไปไหนอยู่เเล้วผมก็เลยชินเเล้วกับการอยู่บ้านแต่การที่อยู่บ้าน ก็ได้ไช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือศึกษาเรื่องต่งๆมากมายในช่วงวันหยุดของผม ขอให้ทุกคนที่อ่านมีเเต่ความสุขตลอดปีนะครับ